ดูบทความ
ดูบทความ6 โรคฤดูร้อน เด็กๆต้องระวัง
6 โรคฤดูร้อน เด็กๆต้องระวัง
6 โรคฤดูร้อน ที่เด็กๆต้องระวัง !!
ช่วงนี้ นอกจากจะต้องรับมือกับโรคCovid-19 แล้วยังต้องระวังโรคที่มากับฤดูร้อนอีกด้วยโดย
เฉพาะเด็กเล็ก ภูมิคุ้มกันยังน้อย ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ง่าย
1.โรคจากระบบทางเดินหายใจ
เนื่องจากอากาศมีการเปลี่ยนแปลงไปมา เช่น ภายในบ้านเย็นเพราะเปิดแอร์
แต่เมื่อออกมานอกบ้านพบกับอากาศที่ร้อนจัด ทำให้ลูกปรับตัวไม่ทัน ป่วยง่าย เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่เป็นต้น
อาการ: ปวดหัว ตัวร้อน ไอ จาม อ่อนเพลีย คัดจมูก หรือ น้ำมูกไหล
ดูแล: ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ ถ้ามีไข้ร่วมด้วย ให้ทานยาลดไข้และเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นเพื่อระบายความร้อนออก
2.โรคผดร้อน
เมื่ออุณหภูมิในร่างกายสูง และรูขุมขนเกิดการอุดตัน จนไม่สามารถขับเหงื่อออกมาได้ กลายเป็นตุ่มแดงตรงบริเวณผิวหนัง
อาการ: คัน ไม่สบายตัว ซึ่งผื่นสามารถหายได้เอง ภายใน 1-2 วัน แต่ถ้าหลายวันไม่ผื่นไม่ยุบ ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที
ดูแล: ให้ลูกสวมใส่เสื้อผ้าที่สามารถระบายเหงื่อได้ดีไม่ทาโลชั่นหนาจนเกินไป
3.เลือดกำเดาไหล
พบบ่อยในกลุ่มเด็กที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ซึ่งไวต่อการการเปลี่ยนแปลงของอากาศและเป็นปัญหา
สำหรับการปรับตัวของเยื่อจมูก จนทำให้เส้นเลือดในโพรงจมูกแตก
ดูแล : ให้เด็กนั่งตัวเอียงไปข้างหน้า ก้มหัวลงเล็กน้อย ให้เลือดไหลออกทางจมูกแทนที่จะไหลลงคอ
ซึ่งอาจทำให้เด็กอาเจียนได้ ใช้มือบีบจมูกบริเวณปีกจมูกเบา ๆ ในข้างที่มีเลือดกำเดาไหล อย่างน้อย 10 นาที
และหากเลือดยังไม่หยุดไหลนานเกิน 30 นาที ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ทันทีนะคะ
4.โรคฮีตสโตรกหรือโรคลมแดด
เกิดจากร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไปเช่น ตากแดดเป็นเวลานาน ทำให้สมองทำงานผิดปกติในด้านของการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ซึ่งส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตและระบบสมอง มีอุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 40 °C
อาการ: อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่มีเหงื่อออก หน้าแดง ปวดศีรษะ รู้สึกกระหายน้ำมาก ๆ อ่อนเพลีย และชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตลดลง
ดูแล: ต้องรีบรักษา เพราะอาจจะทำให้เสียชีวิตได้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้ลูกออกไปวิ่งเล่นกลางแดด เป็นเวลานาน และให้สวมเสื้อผ้าที่ระบายเหงื่อได้ดี
แต่ถ้าหากลูกเกิดมีอาการที่เหมือนจะเป็นลมแดด ควรพาลูกเข้าที่ร่มและนอนราบยกเท้าสูงทั้งสองข้างเพื่อให้เลือดไหลเวียน รวมถึงให้ดื่มน้ำและเช็ดตัวด้วยน้ำเย็น
จากนั้นรีบพาไปโรงพยาบาลทันที
5.โรคพิษสุนัขบ้า
หน้าร้อน ทำให้สัตว์เลี้ยงหงุดหงิดได้ง่าย จึงมีโอกาสโดนกัดได้ ซึ่งเชื้อพิษสุนัขบ้าในช่วงหน้าร้อนเชื้อโรค
จะเจริญเติบโตได้ดีและอยู่ในสภาพแวดล้อมได้นานขึ้น
ดูแล: ระวังไม่ให้ลูกไปอยู่สถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการโดนสุนัขกัด เช่น ไม่ให้เดิน / เล่นตามตรอกซอกที่มีสุนัข หรือสัตว์แปลกถิ่น
หากถูกกัดควรรีบทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสบู่ และรีบพามาพบแพทย์ เพื่อจะได้รีบฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าได้ทันท่วงที
อากาศร้อนเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ส่งผลให้อาหารเกิดการเสียและบูดเร็วขึ้น ทำให้ป่วยเป็นโรคท้องร่วง หรืออาหารเป็นพิษได้
อาการ: ท้องเสียและถ่ายเป็นน้ำ อาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย หากอาการรุนแรง อาจเกิดการช็อคหมดสติได้
ดูแล: ให้ลูกทานอาหารที่ปรุงสุกและหมั่นล้างมือก่อนกินข้าว
09 กรกฎาคม 2564
ผู้ชม 1677 ครั้ง